จากบทความที่อ่านเจอมาในเว็บ มุสลิมไทย โพสท์
ได้ความรู้ใหม่ แต่อาจจะเป็นเรื่องธรรมชาติ คือผู้หญิงกับความรักสวยรักงาม ไม่ว่าอยู่ในประเทศไหน ก็คงคล้ายๆกัน
อย่าง ในอิหร่าน ในข่าวนี้
มุสลิมไทยดอทคอม อิหร่าน นำเข้าเครื่องสำอางมากสุดเป็นอันดับ 2 ในตะวันออกกลาง
ในปี 1979 หลังการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน เครื่องสำอางถูกห้ามนำเข้าประเทศ แต่ปัจจุบันลิปสติก และยาทาเล็บทะลักเข้าในอิหร่าน จนทำให้กลายเป็นประเทศที่นำเข้าเครื่องสำอางมากสุดเป็นอันดับ 2 ในตะวันออกกลาง
หลังการปฏิวัติมีการควบคุมอย่างเข้มงวด โดยมีการปรับ หรือจับผู้ที่แต่งหน้าทาปากที่เดินตามท้องถนน แต่หลังจากสงครามอิหร่าน-อิรัก ในปี 1980-1988 ความเข้มงวดเหล่านั้นค่อยจางลง
ทางการอนุญาตให้มีการนำเข้าเครื่องสำอางในกลางปี 1990 ทำให้มีผู้นิยมแต่งหน้ากันมากขึ้นโดยเฉพาะสาวเมืองกรุง ชาวอิหร่านเสียเงินไปกับเครื่องสำอางนำเข้าปีละประมาณ 2 พันล้านดอลล่าร์ และอิหร่านนำเข้าเครื่องสำอางคิดเป็นร้อยละ 29 ของตลาดในตะวันออกกลาง ซึ่งซาอุดี้อาระเบียอยู่ในอันดับต้นๆ
อิหร่านผลิตเครื่องสำอางเองเพียงไม่กี่ชนิด ทำให้ต้องนำเข้าเครื่องสำอางทั้งโดยถูกต้องตามกฎหมาย และโดยการลักลอบ ซึ่งสินค้ายี่ห้อดังๆ เช่น อิฟแซง ลอแรง, เกอแลง, ลอริอัล และบูร์จัว มีขายตามห้างสรรพสินค้าทันสมัยในเมืองใหญ่ๆ ในอิหร่าน
อับบาส นาจาฟี หัวหน้าสำนักงานต่อต้านการลักลอบนำเข้าสินค้ากล่าวว่า มีการประมาณว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางถูกนำเข้าปีละ 700 – 750 ล้านดอลล่าร์
มีการระแวดระวังในหน่วยงานด้านสุขภาพที่เตือนว่า การใช้เครื่องสำอางที่ลักลอบนำเข้าไม่ปลอดภัย เพราะอาจเจอกับของปลอมได้ ดังนั้น ควรเจาะจงซื้อสินค้าที่มีตรารับรองของทางราชการ
ปัจจุบันมีสินค้าคุณภาพต่ำจากประเทศจีนเข้ามาตีตลาดมากขึ้น แต่มักจะได้รับความนิยมในตลาดล่างที่อยู่ตามต่างจังหวัด และในหมู่คนที่มีรายได้ต่ำเท่านั้น โดยมีการลักลอบนำเข้ามาประมาณร้อยละ 30
ตามรายงานการสำรวจของ TMBA ซึ่งเป็นสถาบันเอกชนสำรวจด้านเศรษฐกิจเปิดเผยว่า หญิงชาวเมืองใหญ่ในอิหร่านที่มีอายุระหว่าง 15 – 45 ปี ใช้เงินเฉลี่ยเดือนละ 7 ดอลล่าร์ไปกับการซื้อเครื่องสำอาง ซึ่งรายได้ขั้นต่ำในประเทศที่กำหนดไว้เดือนละ 300 ดอลล่าร์ และรายได้จริงที่เฉลี่ยเดือนละ 600-700 ดอลล่าร์ ถือว่าการซื้อเครื่องสำอางด้วยจำนวนเงินเท่านี้เหมาะสมดีแล้ว
ผลสำรวจยังระบุว่า สาเหตุที่นำเข้าเครื่องสำอางเป็นจำนวนมาก เนื่องจากปัจจุบันอิหร่านมีประชากรที่อยู่ในวัยทำงาน และอยู่ในเมืองหลวงเป็นจำนวนมาก ครึ่งหนึ่งของประชากรมีอายุต่ำกว่า 30 ปี และร้อยละ 65 อยู่ในเมืองหลวง
นับตั้งแต่ปี 1979 เป็นต้นมา สตรีในอิหร่านต้องแต่งกายตามหลักศาสนาอย่างเคร่งครัด โดยไม่อาจเปิดเผยเรือนร่างและเส้นผมในที่สาธารณะ มีสตรีจำนวนมากที่พยายามจะออกนอกลู่นอกทาง โดยการสวมชุดกีฬา หรือสวมเสื้อผ้าที่เข้ารูปมากกว่าปกติ รวมทั้งการคลุมผมแบบแฟชั่นที่เปิดให้เห็นเรือนผมด้านหน้า แต่ก็มักจะถูกประณาม และบางครั้งก็มีการต่อต้านอย่างรุนแรงจากนักการศาสนาที่อยู่ในตำแหน่งสูง
ปัจจุบันสตรีอิหร่านที่เป็นข้าราชการยังคงไม่ได้รับอนุญาตให้แต่งหน้าในที่ทำงาน
มีนา ซึ่งเป็นคนขายเครื่องสำอางกล่าวว่า อาจจะเป็นด้วยเหตุที่สาวอิหร่านต้องปกปิดร่างกายจนเหลือแต่ใบหน้าเท่านั้น จึงทำให้สาวๆ ต้องให้ความสนใจในการแต่งหน้าเป็นพิเศษ ซึ่งหลายคนใช้เวลาเป็นชั่วโมงหน้ากระจก และหากในยุโรปจะเปลี่ยนเทรนด์ใหม่เป็นการไม่แต่งหน้า ก็คิดว่าสาวๆ อิหร่านคงไม่คิดตามแฟชั่นใหม่นี้เป็นแน่ www.muslimthai.com
ที่มาของบทความนี้
ทั้งนี้หากดูแนวโน้มของตลาด ก็อาจมองเห็นช่องทางสำหรับธุรกิจเกี่ยวเนี่องอื่นๆอีกหลายอย่าง แต่ก็ต้องระมัดระวัง
จะทำกันแบบเสรีเหมือนอย่างตลาดอื่นๆคงไม่ได้ คงต้องค่อยเป็นค่อยไป
ทั้งนี้หากดูแนวโน้มของตลาด ก็อาจมองเห็นช่องทางสำหรับธุรกิจเกี่ยวเนี่องอื่นๆอีกหลายอย่าง แต่ก็ต้องระมัดระวัง
จะทำกันแบบเสรีเหมือนอย่างตลาดอื่นๆคงไม่ได้ คงต้องค่อยเป็นค่อยไป